ฟุตบอลโลก 2018 ที่จะเตะกันในวันที่ 14 มิถุนายนนี้ ที่ประเทศรัสเซียแดนหมีขาว วันนี้ทีมงาน www.shotongoal.com จะพาทุกๆท่าน ไปเยี่ยมชมสนามที่จะใช้ในการแข่งขัน ก่อนที่มหกรรมกีฬาลูกหนังของมวลมนุษยชาติจะเริ่มขึ้น และใน 12 สนามนี้จะมีมนต์เสน่ห์อะไรกันบ้าง เราไปชมพร้อมๆกันได้เลยครับ
[Editorial]

อันดับที่ 1 Luzhniki Stadium (ลุจนีกิ สเตเดียม)
ความจุ 81,000 ที่นั่ง ที่ตั้งสนาม
Luzhniki Stadium
สนามแห่งนี้มีอีกชื่อว่า สนามกลางเลนิน เปิดใช้เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ปี 1956 เป็นสนามที่ใหญ่ที่สุดของรัสเซีย เคยใช้ในการจัดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนในปี 1980 และปัจจุบันสนามแห่งนี้ยังเคยเป็นรังเหย้าของสโมสร CSKA Moscow และสโมสร Spartak Moscow ละสนามแห่งนี้ยังเคยถูกจัดการแข่งขันในศึกฟุตบอลถ้วยยุโรปมาแล้วสองเหตุการณ์ คือ ศึก ยูฟ่าคัพ รอบชิงชนะเลิศ 1999 ระหว่างสโมสร ปาร์มา – ออแล็งปิกเดอมาร์แซย์ ส่วนอีกหนึ่งเหตุการณ์คือ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 2008 รอบชิงชนะเลิศ 2008 ระหว่างสโมสร เชลซี – แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด สนามแห่งนี้จะใช้ในรอบรองชนะเลิศ และรอบชิงชนะเลิศฟุตบอลโลกในครั้งนี้
อันดับที่ 2 Zenit Arena Saint Petersburg (เซนิต อารีน่า)
ความจุ 64,287 ที่นั่ง ที่ตั้งสนาม
Zenit Arena Saint Petersburg
Andrew Shiva / Wikipedia
สนามแห่งนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า Gazprom Arena เป็นสนามเหย้าแห่งใหม่ของสโมสรฟุตบอล เซนิต เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ตั้งอยู่บนทำเลที่มีแม่น้ำล้อมรอบทั้ง 3 ด้าน เริ่มก่อสร้างในปี 2008 เป็นผลงานการออกแบบของ Kisho Kurokawa สถาปนิกชาวญี่ปุ่น ที่ได้ปรับเปลี่ยนพัฒนาแบบมาจากงานครั้งเก่าของเขาคือ Toyoya Stadium ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ส่วนการใช้งานสนามแห่งนี้ จะใช้ในรอบแบ่งกลุ่มรอบ 16 ทีมสุดท้าย รอบรองชนะเลิศ และรอบชิงที่สาม ส่วนใครที่อยากทราบโปรแกรมการแข่งขันของทุกๆทีม ก็สามารถเข้าไปเช็คโปรแกรมการแข่งขันได้ที่ www.shotongoal.com/ตารางบอล/ ได้ตลอดเลยนะครับ
อันดับที่ 3 Fisht Olympic Stadium (ฟิชต์ โอลิมปิก สเตเดียม)
ความจุ 47,659 ที่นั่ง ที่ตั้งสนาม
Fisht Olympic Stadium
By Oleg Bkhambri (Voltmetro) [CC BY-SA 4.0 (https://creativecommons.org/licenses/by-sa/4.0)], from Wikimedia Commons สนามแห่งนี้ตั้งอยู่ในเมือง โซชี โดยชื่อสนามแห่งนี้ ได้ตั้งตามชื่อภูเขาฟิชต์ ด้วยความจุที่มาก ทำให้สนามแห่งนี้ได้รับหน้าที่จัดงานใหญ่ๆ อยู่บ่อยครั้ง อย่างล่าสุดก็คือโอลิมปิกฤดูหนาวในปี 2014 สนามแห่งนี้เรียกได้ว่ามีทิวทัศน์ที่งดงามรอบด้าน ทางทิศเหนือรายล้อมไปด้วยวิวของภูเขา Krasnaya Polyana และในฝั่งทิศใต้ก็จะเป็นภาพของทะเลดำ โดยสนามแห่งนี้ยังมีจุดเด่นอีกอย่างคือ สามารถเปิด-ปิดหลังคาได้
อันดับที่ 4 Kazan Arena (คาซาน อารีน่า)
ความจุ 45,379 ที่นั่ง ที่ตั้งสนาม
Kazan Arena
By Andsemar [CC BY-SA 4.0 (https://creativecommons.org/licenses/by-sa/4.0)], from Wikimedia Commonsสนามแห่งนี้แต่เดิมถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับการแข่งขันฟุตบอลมหาวิทยาลัยโลกในปี 2013 รวมถึงเป็นรังเหย้าของสโมสร รูบิน คาซาน ถูกออกแบบโดยบริษัท Populous ซึ่งเป็นบริษัทสถาปนิกเดียวกันกับที่ออกแบบสนาม Wembley Stadium และ Emirates Stadium สนามแห่งนี้นอกจากจะใช้จัดการแข่งขันกีฬาฟุตบอลและคอนเสิร์ตแล้ว ยังใช้เป็นสนามในการแข่งขันกีฬาอื่นๆอีกด้วย และล่าสุดก็เป็นสนามกีฬาทางน้ำชิงแชมป์โลก เมื่อกรกฎาคมปีที่แล้ว ส่วนการใช้งานสนามแห่งนี้ จะใช้ในรอบแบ่งกลุ่ม รอบ 16 ทีมสุดท้าย และรอบ 8 ทีมสุดท้าย และท่านผู้อ่านที่ไม่อยากพลาดข่าวสารของฟุตบอลโลกครั้งนี้ ก็เข้าไปอัพเดทข้อมูลกันได้ที่เว็บ www.shotongoal.com/news/ ได้เลยนะครับ เพราะเว็บนี้อัพเดทกันแบบสดๆ ข่าวไวมากๆ ครับ
อันดับที่ 5 Nizhny Novgorod Stadium (นิจนีนอฟโกรอด สเตเดียม)
ความจุ 44,899 ที่นั่ง ที่ตั้งสนาม
Nizhny Novgorod Stadium
By Bestalex [CC BY-SA 4.0 (https://creativecommons.org/licenses/by-sa/4.0)], from Wikimedia Commonsเป็นสนามแห่งใหม่ในเมือง นิจนีนอฟโกรอด เปิดใช้ในปี 2005 จากเดิมเคยเป็นสนามเล็ก จนรัสเซียได้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกในครั้งนี้ ทำให้รัสเซียได้เนรมิตสนามแห่งนี้ขึ้นมาใหม่โดยเฉพาะ ซึ่งหลังจากที่ใช้เป็นสังเวียนในศึกฟุตบอลโลกครั้งนี้เสร็จแล้ว สนามแห่งนี้จะกลายเป็นสนามเหย้าแห่งใหม่ของสโมสร FC Olimpiyets Nizhny Novgorod (ชื่อโคตรยาว)
อันดับที่ 6 Cosmos Arena Samara (คอสมอส อารีน่า ซามารา)
ความจุ 44,918 ที่นั่ง ที่ตั้งสนาม
By Msfive7 [CC BY-SA 4.0 (https://creativecommons.org/licenses/by-sa/4.0)], from Wikimedia Commonsสนามแห่งนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า เมทัลเลิร์ก สเตเดียม เป็นอีกสนามที่ถูกปรับปรุงใหม่เพื่องานนี้โดยเฉพาะ ซึ่งสนามแห่งนี้ยังมีประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือ เป็นศูนย์กลางของโครงการสำรวจอวกาศของสหภาพโซเวียต และยังเป็นเมืองที่น่าค้นหา มีความสดใหม่ และสวยงาม
อันดับที่ 7 Central Stadium Volgograd (เซ็นทรัล สเตเดียม โวลโกกราด)
ความจุ 45,568 ที่นั่ง ที่ตั้งสนาม
Central Stadium Volgograd
Volgoduma.ru [CC BY 3.0 (https://creativecommons.org/licenses/by/3.0)], via Wikimedia Commonsสนามแห่งนี้สร้างในพื้นที่เดิมของสนามฟุตบอลเก่าของ Rotor Stadium สร้างเสร็จในปี 2018 โดยได้รับการออกแบบใหม่ทั้งหมด ตั้งอยู่ที่เมือง โวลโกกราด ติดแม่น้ำโวลกา ซึ่งการดีไซน์สนามแห่งนี้มีความสวยงาม และออกแบบมาให้ภายนอกมีหน้าตาเหมือนงานจักรสานที่ละเอียดอ่อน ส่วนการใช้งานสนามแห่งนี้ จะใช้ในรอบแบ่งกลุ่ม โดยผู้อ่านสามารถเข้าไปเช็คผลการแข่งขันของแต่ละทีมได้ที่ www.shotongoal.com/ผลบอล/ กันแบบนาทีต่อนาทีได้เลยนะครับ
อันดับที่ 8 Central Stadium Yekaterinburg (เซ็นทรัล สเตเดียม เยคาเตรินบุร์ก)
ความจุ 35,696 ที่นั่ง ที่ตั้งสนาม
Central Stadium Yekaterinburg
By Фальшивомонетчик [CC BY-SA 4.0 (https://creativecommons.org/licenses/by-sa/4.0)], from Wikimedia Commons เป็นสนามที่มีประวัติศาสตร์มายาวนานมีอีกชื่อว่า อูรัลมาช สเตเดียม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศรัสเซีย เป็นอีกหนึ่งสนามเก่าแก่ที่ถูกปรับปรุงสำหรับรายการฟุตบอลโลก 2018 นี้ สนามแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในปี 1957 และเป็นสนามเหย้าของทีม FC Ural แต่เดิมสนามแห่งนี้เป็นสถานที่แข่งขันกีฬาหลายรูปแบบทั้งกรีฑา และไอซ์สเก็ต สนามนี้ถูกปรับปรุงและได้สร้างทับบนสนามเก่า ทว่ายังคงศิลปะที่งดงามในส่วนของด้านหน้าเอาไว้
อันดับที่ 9 Mordovia Arena Saransk (มอร์โดวียา อารีน่า ซารันสค์)
ความจุ 44,442 ที่นั่ง ที่ตั้งสนาม
Mordovia Arena Saransk
By Эрзянин [CC BY-SA 4.0 (https://creativecommons.org/licenses/by-sa/4.0)], from Wikimedia Commonsสนามแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในเมือง Saransk เมื่องที่มีขนาดเล็กที่สุดที่ถูกจัดให้ต้อนรับการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 ได้รับการออกแบบจากสถาปนิกชาวเยอรมันชื่อ Tim Hupe โดยภายนอกของสนามได้ถูกตกแต่งด้วยสีสันสดใสซึ่งได้รับแรงบัลดาลใจศิลปะของภูมิภาค Mordovia
อันดับที่ 10 Levberdon Arena Rostov-on-Don (เลฟเบอร์ดัน อารีน่า)
ความจุ 45,000 ที่นั่ง ที่ตั้งสนาม
Kremlin.ru [CC BY 4.0 (https://creativecommons.org/licenses/by/4.0)], via Wikimedia Commons
By Светлана Бекетова (https://www.soccer.ru/galery/1044638/photo/722294) [CC BY-SA 3.0GFDL, CC BY-SA 3.0 (https://creativecommons.org/licenses/by-sa/3.0) or GFDL (http://www.gnu.org/copyleft/fdl.html)], via Wikimedia Commonsสนามใหม่ในเมืองรอสตอฟ มีการออกแบบที่น่าสนใจ คือหลังคารูปเครื่องหมายคำถาม ก่อสร้างเมื่อปี 2015 แล้วเสร็จในเดือน ธันวาคม 2017 การออกแบบของสนามนี้ได้รับแรงบัลดาลใจมาจากเทือกเขา Kurgans อันเก่าแกที่อยู่ในภูมิภาคิแห่งนี้ และสนามนี้จะกลายมาเป็นรังเหย้าของสโมสร FC Rostov
อันดับที่ 11 Otkrytiye Arena Moscow (ออตครืยตีเย อารีน่า)
ความจุ 45,360 ที่นั่ง ที่ตั้งสนาม
Otkrytiye Arena Moscow
By Акутагава [CC BY-SA 4.0 (https://creativecommons.org/licenses/by-sa/4.0)], from Wikimedia Commonsสนามแห่งนี้เป็นรังเหย้าแห่งใหม่ของสโมสร Spartak Moscow สร้างขึ้นในเดือนตุลาคม 2010 เปิดใช้ในวันที่ 5 กันยายน 2014 เป็นสนามที่ใช้เงินก่อสร้างแพงอันดับที่ 8 ของโลก ถือเป็นอีกหนึ่งสนามอเนกประสงค์ครบครัน ทั้งใช้งานในด้านของกีฬาและคอนเสิร์ต
อันดับที่ 12 Kaliningrad Stadium Kaliningrad (คาลินินกราด สเตเดียม)
ความจุ 35,212 ที่นั่ง ที่ตั้งสนาม
Kaliningrad Stadium Kaliningrad
สนามแห่งนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า Arena Baltika (บาทิลก้า อารีน่า) เป็นรังเหย้าของสโมสร FC Baltika Kalininggrad สนามแห่งนี้ตั้งอยู่บนเกาะ Oktyabrsky ซึ่งอยู่ทางตะวันออกจากตัวเมือง สนามแห่งนี้ แต่ก่อนเป็นพื้นที่ดั่งเดิมที่ยังไม่ได้ถูกพัฒนามากเท่าไหร่ ซึ่งยังคงกลิ่นอายของธรรมชาติที่สวยงามอยู่ และที่น่าเหลือเชื่อไปกว่านั้นก็คือ สนามแห่งนี้ถูกสร้างอยู่บนเกาะ
ฟุตบอลโลก 2018 ที่รัสเซียในครั้งนี้ สถานที่จัดการแข่งขันมีทั้งสิ้น 12 สนาม ใน 11 เมือง และเมืองที่ได้รับเลือกจัดการแข่งขันส่วนใหญ่จะอยู่ทางฝั่งตะวันตก ใกล้กับเมืองมอสโก เพื่อที่จะทำให้ระบบขนส่งต่างๆ เดินทางได้สะดวกและรวดเร็ว และอำนวยความสะดวกให้แก่แฟนบอลจากทั่วทุกมุมโลกในศึกฟุตบอลโลกครั้งนี้
ข้อมูลทั่วไป ฟุตบอลโลก 2018 – รัสเซีย
จำนวนทีม : 32
จำนวนสนาม : 12
จำนวนการแข่งขัน : 65
สนามเปิดการแข่งขัน : Luzhniki Stadium (ลุจนีกิ สเตเดียม)
สนามปิดการแข่งขัน : Luzhniki Stadium (ลุจนีกิ สเตเดียม)
ค่าเฉลี่ยความจุสนาม : 49,300 ที่นั่ง
สนามที่มีความจุมากที่สุด : Luzhniki Stadium (ลุจนีกิ สเตเดียม) (81,000 ที่นั่ง)
สนามที่มีความจุน้อยที่สุด : Kaliningrad Stadium (คาลินินกราด สเตเดียม) (35,212 ที่นั่ง)
ข้อมูลเพิ่มเติม
ไปหลงทางกันต่อที่ไหนดี..
Leave a Reply